เคมีอาหาร
all products in this category - 51 items / 6 pages
 
123456
กรดอะซิติก (Acetic Acid)
กรดอะซิติก (Acetic Acid)
กรดอะซิติก (Acetic Acid) - หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากรดน้ำส้ม (acetic acid) เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในน้ำส้มสายชู (มิใช่พืชตระกูลส้มซึ่งให้กรดซิตริก) คือให้รสเปรี้ยวและกลิ่นฉุน กรดแอซีติกแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16.7 C มีลักษณะเป็นผลึกใส กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ไอของกรดสามารถทำให้ตาและจมูกระคายเคือง แต่ก็ยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหากละลายน้ำ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขจัดตะกรันในท่อน้ำ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร กรดแอซีติกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อควบคุมความเป็นกรด

กรดอะซิติก (C2H4O2) เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ระเหยได้ น้ำหนักโมเลกุล 60.05 จุดเดือด 118 องศาเซลเซียส จุดเยือกแข็งที่ 17 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.05 ความดันไอ 11 มม.ของปรอทที่ 20 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้ดี มีความเสถียร กรดอะซิติกบริสุทธิ์ เรียกว่า กรดน้ำส้มล้วน หรือกรดกลาเซียอะซิติก (Glacial acetic acid) ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส การเจือจางกรดด้วยน้ำ ได้น้ำส้มสายชูสำหรับปรุงอาหาร ซึ่งอาจได้จากการหมัก มีกลิ่นหอมและไม่มีอันตรายจากสารปนเปื้อน

ในสมัยโบราณมีการนำกรดนี้มาใช้โดยหมักจากไวน์หรือเหล้าต่อจนมีรสเปรี้ยว ได้น้ำส้มสายชู (Vinegar) ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณร้อยละ 3 ปัจจุบันการผลิตกรดอะซิติกใช้การสังเคราะห์ทางเคมีโดยการออกซิไดซ์อะเซตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) หรือใช้คาร์บอนมอนอกไซด์ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนได้เมธานอล แล้วทำปฏิกิริยากับคาร์บอนมอนอกไซด์ อีกครั้งหนึ่งจนได้กรดอะซิติก

กรดอะซิติก ใช้ในการผลิตพลาสติก อุตสาหกรรม สีย้อมผ้า ยาฆ่าแมลง ยาแอสไพริน เส้นใยสังเคราะห์ สารโพลีเมอร์และกาว เป็นต้น

อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

กรดอะซิติก มีความรุนแรงน้อยกว่ากรดอนินทรีย์ เนื่องจากเป็นกรดที่ระเหยได้ จึงมีความเป็นพิษได้ทั้งจากการหายใจ การสัมผัส และการกิน พิษจากการหายใจทำให้ไอ หายใจขัด ความเป็นพิษจากการสัมผัสและการกินจะเกิดในกรณีที่มีความเข้มข้นสูง เช่น กรดกลาเซียลอะซิติก ทำให้ระคายเคืองต่อปาก และทางเดินอาหาร ผิวเนื้อเยื่อถูกทำลาย เกิดการอักเสบ อาจมีเลือดออก พิษจากการสัมผัสที่ผิวหนังไม่รุนแรงสามารถล้างน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว

อาจทำปฏิกิริยากับสารออกซิไดเซอร์ที่แรง เช่น เปอร์คลอเรต เปอร์แมงกาเนต ทำให้เกิดการระเบิดได้
product code : chemical_000001
ผงฟู (Baking Soda)
ผงฟู (Baking Soda)
ผงฟู (Baking Soda) คือสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบขนมและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ แต่โดยหลักๆจะมี 2 ชนิดคือ

- ผงฟู (Baking Powder) ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในลูกองุ่น) , โซเดียม แอซิด ไพโรฟอสเฟต (sodium acid pyrophosphate กรดเกลือของกรด) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรงเมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีก๊าซเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ (ผงฟูมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2)

- เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว

ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ขนมขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ น้ำผึ้ง

ผงฟู และเบคกิ้งโซดา ล้วนแต่เป็นสารที่ช่วยให้ขนมขึ้นฟู แต่ส่วนมากจะใช้ในโอกาสแตกต่างกัน เบคกิ้งโซดา มักจะใช้ในขนมที่มีโกโก้ หรือ กาแฟ เป็นส่วนผสม เพราะว่าโกโก้ และ กาแฟ มีค่าเป็นด่าง ซึ่งเบคกิ้งโซดาก็มีค่าเป็นด่าง จึงทำให้เข้ากันได้ดี อย่างไรก็ตาม เบคกิ้งโซดาจะมีจุดเสียตรงที่ว่า ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ขนมมีรสเฝื่อน แต่ก็จะมีการแก้ไขได้โดยการผสมกรดลงไปในสูตรขนม เช่น โยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว ผงฟู มักจะใช้ในการทำขนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะผงฟูจะช่วนให้ขนมขึ้นฟู แต่ในอัตราที่พอควร ไม่มากเท่าโซดา ส่วนเรื่องการใช้แทนกัน ผงฟูใช้แทน เบคกิ้งโซดา ได้ แต่ เบคกิ้งโซดา ใช้แทน ผงฟูไม่ได้
product code : chemical_000002
Retail (30.00 kg.)N/A
แคลเซี่ยม คลอไรด์ (Calcium Chloride)
แคลเซี่ยม คลอไรด์ (Calcium Chloride)
แคลเซี่ยม คลอไรด์ (Calcium Chloride) - เป็นสารปรุงแต่งอาหารอัตถประโยชน์ เป็นสารที่ไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ สามารถนำไปละลายน้ำได้ โดยมีความสามารถในการละลายได้ 59 กรัม ต่อน้ำ 100 ซีซี. ณ. อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส. ในขั้นตอนการละลายต้องใช้ความร้อนช่วย เป็นสารช่วยในการคงตัวในมะเขือเทศกระป๋อง มันฝรั่งและแอปเปิลที่หั่นเป็นชิ้นบางๆ ส่วนในขั้นตอนการอุ่นนมให้ร้อน สารนี้จะถูกใช้ในปริมาณ 0.1% เพื่อปรับสมดุลของเกลือเพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของนมในกระบวนการสเตอริไรเซชั่น นอกจากนี้สารนี้ยังถูกใช้ร่วมกับ ไดโซเดียม อีดีทีเอ เพื่อรักษารสชาติของดอง
product code : chemical_000003
Retail (25.00 kg.)N/A
คาราเมล (caramel)
คาราเมล (caramel)
คาราเมล  (caramel) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาการเกิดคาราเมล (caramelization) มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ให้กลิ่นของน้ำตาลไหม้ และมีรสขม ละลายได้ในน้ำ เป็นส่วนผสมของสารประกอบที่มีโครงสร้างซับซ้อนในรูปของสารแขวนลอยที่รวมตัวกัน ผลิตได้จากการให้ความร้อนกับคาร์โบไฮเดรท  โดยใช้กรดด่าง หรือเกลือเป็นตัวเร่งการเกิดปฏิกิริยา

คาราเมลใช้เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) มีชื่อเหมือน คือ  Ammonia caramel หรือ Caramel colour class III  ใช้เพื่อเป็นสารให้สี (coloring agent) และกลิ่นรส (flavoring agent) ในอาหาร ลูกกวาด (candy)  เครื่องดื่ม (beverage)

คาราเมลยังถูกใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้รสชาติและกลิ่นในของหวานชนิดอื่นๆ เช่น ขนมปัง, ไอศกรีม, เค้ก, มูส หรือใช้เป็นเครื่องเคียงหรือซอสราดตกแต่งหน้า ภายหลังจีงมีการใช้คำว่า "คาราเมล" แทนขนมจำพวกลูกกวาดบางชนิด หรือซอสราดที่เกิดจากการผสมส่วนน้ำตาลที่เปลี่ยนสถานะแล้วกับวัตถุดิบอื่นๆ เช่นครีม นม เนย ฝักวานิลลา เป็นต้น เพื่อให้ได้ลักษณะผิวสัมผัสและรสชาติความหอมตามที่ต้องการ

นอกจากนี้เมื่อคาราเมลเย็นตัวจะมีลักษณะแข็ง จึงนิยมทำของประดับจาน หรือเคลือบขนม ผลไม้ หรือถั่วด้วย

แบ่งคาราเมลเป็น 4 ประเภท ตามสารที่ใช้เร่งปฏิกิริยาในการผลิต ดังต่อไปนี้

1. Class I (plain caramel, caustic caramel) ผลิตโดยให้ความร้อนแก่คาร์โบไฮเดรท อาจใช้หรือไม่ใช้กรด หรือด่างร่วมด้วยก็ได้ และไม่มีการใช้แอมโมเนีย หรือสารประกอบซัลไฟต์ (sulfites)

2. Class II (caustic sulfite caramel) ผลิตโดยให้ความร้อนแก่คาร์โบไฮเดรท อาจใช้หรือไม่ใช้กรดหรือด่างร่วมด้วยก็ได้ มีการใช้สารประกอบซัลไฟต์ (sulfites)  และไม่มีการใช้แอมโมเนีย

3. Class III (ammonia caramel) ผลิตโดยให้ความร้อนแก่คาร์โบไฮเดรท อาจใช้หรือไม่ใช้กรดหรือด่างร่วมด้วยก็ได้ มีการใช้แอมโมเนีย และไม่มีการใช้สารประกอบซัลไฟต์(sulfites)

4. Class IV (sulfite ammonia caramel) ผลิตโดยให้ความร้อนแก่คาร์โบไฮเดรท อาจใช้หรือไม่ใช้กรดหรือด่างร่วมด้วยก็ได้ ใช้ทั้งสารประกอบซัลไฟต์ (sulfites)  และแอมโมเนีย
product code : chemical_000004
Retail (25.00 kg.)N/A
เกลือเซลลูโลส (Carboxymethycellulose - CMC)
เกลือเซลลูโลส (Carboxymethycellulose - CMC)
Carboxymethycellulose เป็นอนุพันธ์ของเซลลูโลสในรูปของเกลือ sodium carboxymethylcellulose อาจเรียกว่า cellulose gum หรือ CMC โดยเป็นพอลิเมอร์ของชนิดที่มีประจุลบ และละลายได้ในน้ำ CMC ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มี DS ประมาณ 0.9 ซึ่ง CMC จะละลายได้ทั้งในน้าร้อนและน้ำเย็น สารละลาย CMC มีความคงตัวที่ช่วงพีเอชกว้างประมาณ 4-10 ในช่วงพีเอช 7-9 จะมีความหนืดสูงสุด

ความหนืดของสารละลาย CMC จะลดลงเมื่อพีเอชลดลงและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ถ้าพีเอชต่ำกว่า 3 อาจทำให้ CMC อยู่ในรูปกรดอิสระตกตะกอน เมื่อพีเอชสูงกว่า 10 มีผลทำให้ความหนืดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเท่านั้น CMC ใช้เติมใน ไอศกรีมช่วยให้มีความอุ้มน้ำ ลดการเคลื่อนตัวของโมเลกุลน้ำ --> ไอศกรีมเนื้อนุ่ม เนียน ไม่เกิดผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่  ใช้เป็น bulking agent เพื่อลดพลังงานในอาหาร  ใช้ทำให้ฟิล์มมีลักษณะใสแข็งแรง ไม่ละลายในน้ำมันและตัวทำละลายอินทรีย์
product code : chemical_000005
Retail (25.00 kg.)N/A
คาราจีแนน (Carrageenan)
คาราจีแนน (Carrageenan)
คาราจีแนน (Carrageenan) คือ สารสกัดจากสาหร่ายทะเลนิยมใช้เพื่อให้เกิดเจลในผลิตภัณฑ์อาหารทำให้อาหารมีความข้นหนืด แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ แคปป้า (kappa) ไอโอต้า (iota) และแลมด้า (lambda) โดยคาราจีแนนมีคุณสมบัติ ที่คล้ายเจลาติน แต่ไม่เหนียวและยืดหยุ่นตลอดจนคาราจีแนนจัดเป็นใยอาหารชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นพวกโพลีแซคคาไรด์ ( คาร์โบไฮเดรต )

ประโยชน์ของ คาราจีแนน (Carrageenan)

ใช้สำหรับเพิ่มความหนืดในเครื่องดื่ม เช่น นม เต้าหู้นม นมถั่วเหลือง นมช็อคโกแลต เยลลี่ ไอศกรีม (ลดการละลาย) ไส้กรอก เนื้อ อาหารสัตว์ และเป็นสารเพิ่มเนื้อ

1. ขนมเค้กและอาหารจากนมเนย
- ป้องกันการแยกชั้นของไขมันและ
- การตัดแบ่งคงรูปสวยงาม
- เพิ่มความมัน
- ทำให้ไขมัน (บัตเตอร์หรือมาการีน)

รวมตัวกับนม แป้ง ไข่ กลิ่นและสีเป็นเนื้อเดียวกันตลอดและเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อเค้กเมื่อแช่เย็นไม่เปลี่ยนการเกาะรวมตัวกัน

2. อาหารสัตว์
- เพิ่มการกลมกลืนของเนื้อและสิ่งปรุงแต่ง
- เป็นเนื้อเดียวกันทั้งกระป๋อง

3. นมช็อคโคแลต
- ป้องกันการแยกชั้นและตกตะกอนของช็อคโกแลต
- ทำให้ส่วนผสมคงที่
- เพิ่มการคงรูปเป็นเนื้อเดียวกัน

4. ไอศกรีม
- ลดการละลายของเนื้อไอศกรีม
- เพิ่มการกลมกลืนของส่วนผสมและรสชาติ
- ป้องกันการแยกตัวของความมันจากเนื้อไอศกรีม

5. เนื้อ
- เพิ่มรสจากเส้นใย(texture) ในไส้กรอก หมูแฮม หมูยอ ใส้อั่ว แฮมเบอร์เกอร์
- เพิ่มปริมาณเนื้อต่อน้ำหนัก ลดปริมาณเนื้อที่ใช้ โดยไม่เปลี่ยนรสชาติ
- คงสภาพหลังเก็บในความเย็นต่ำ แช่เย็นแล้วไม่เปลี่ยนรสไม่แข็งตัวเป็นก้อน
- มีความนิ่มสม่ำเสมอ และสไลด์ได้ง่าย

6. เบียร์
- ตกตะกอนโปรตีน
- เพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์
- ลดต้นทุนกระบวนการกรอง

7. ขนมพุดดิ้งและอาหาร
- ป้องกันการแยกชั้นของส่วนไขมัน
- คงสภาพของพุดดิ้งขณะตัดแบ่ง
- ทำให้เนื้อพุดดิ้งมีความมัน

8. เจลลี่
- สามารถเลือกความยืดหยุ่นและความกรอบของเยลลี่ได้ทุกรูปแบบ
- สามารถผลิตเจลลี่ได้ในอุณหภูมิปรกติโดยไม่ต้องแช่เย็น

9. นมถั่วเหลือง
คาราจีแนนใช้กับนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ทำให้โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และน้ำ รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันทำให้มีความเข้มข้น กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ
product code : chemical_000006
Retail (1.00 kg.)N/A
กรดมะนาว หรือซิตริกแอซิด (Citric Acid)
กรดมะนาว หรือซิตริกแอซิด (Citric Acid)
กรดมะนาวหรือ  Citric acid  เป็นกรดที่หาได้ในธรรมชาติจากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  เช่น  ส้ม, มะนาว  เนื่องจากกรดมะนาวนี้มีความสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมต่างๆ  ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการที่จะผลิตกรดมะนาวให้มีปริมาณมากๆ ซึ่งกระทำได้โดยนำกากมันสำปะหลังมาคลุกกับรำข้าว แล้วเติมเชื้อจุลินทรีย์พวก Aspergillus Miger  ลงไป  นำไปบ่มที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 5 วัน  จากนั้นนำไปผ่านกรรมวิธีเพื่อทำให้ได้ผลึกกรดมะนาวออกมา

ผลิตภัณฑ์ที่เราพบเห็นกันอยู่มักมีกรดมะนาวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย  เช่น ในวงการอุตสาหกรรมอาหารใช้เป็นส่วนผสมในการทำลูกกวาด  ผลไม้เชื่อม  เยลลี่  แยม  ไวน์  ในวงการอุตสาหกรรมยาใช้ผสมในยาที่ฟองฟู่เมื่อผสมน้ำดื่ม  ในอุตสาหกรรมทำเครื่องสำอาง  เช่น พวกครีมนวดผม  น้ำยาเซตผม  โลชั่น  และในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น พวกน้ำยาล้างขัดโลหะ น้ำหมึก สี เป็นต้น
product code : chemical_000007
Retail (25.00 kg.)N/A
แป้งข้าวโพด (Cornstarch)
แป้งข้าวโพด (Cornstarch)
Cornstarch หรือแป้งข้าวโพด คือสตาร์ซที่ทำจากเมล็ดข้าวโพด

สตาร์ซ (starch) คือ พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหารของพืช พบในเมล็ดธัญพืช (cereal grain) เช่น ข้าว (rice) ข้าวสาลี (wheat) ข้าวโพด (corn) และพืชหัว เช่น มันฝรั่ง (potato) มันเทศ (sweet potato) มันสัมปะหลัง (tapioca)

โมเลกุลของสตาร์ซ ประกอบ โมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond) ซึ่งมีโครงสร้างของโมเลกุล 2 รูปแบบคือ อมัยโลส (amylose) และอมัยโลเพกทิน(amylopectin)  โดยรวมตัวกันอยู่เป็นเม็ดแป้ง (starch granule)

ดังนั้น cornstarch หรือแป้งข้าวโพด คือสตาร์ซที่ทำจากเมล็ดข้าวโพด มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

- ใส่หน้าเค้กทั้งเค้กส้ม, ช็อคโกแลตหน้านิ่ม, เค้กชาไทย
- ทำลาบทอด หรือ หมูก้อนทอด ใส่แป้งข้าวโพดหน่อย ให้ส่วนผสมจับตัวดี
- เป็นส่วนผสมในวนิลาซอส ให้ส่วนผสมข้น
- คลุกส่วนผสม croquette ปั้นแล้วคลุกแป้งข้าวโพด ก่อนชุบไข่ และ คลุกเกล็ดขนมปัง
- ทอดเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หรือ ปลา เอามาคลุกกับแป้งข้าวโพด สะบัดเอาส่วนเกินออก แล้วนำไปทอด

รวม ๆ แล้วใส่ลงในอาหารหรือขนมอะไรก็ได้ ที่ต้องการให้ส่วนผสมข้น หรือจับตัวกัน
product code : chemical_000008
สีผสมอาหาร (Coloring agent)
สีผสมอาหาร (Coloring agent)
Coloring agent หรือ food color คือ วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) เป็นสารให้สีที่ให้สี, ปรับปรุงสี, ทำให้คงสภาพของสี ของอาหาร โดยในทางกฎหมายอาจเป็นสารสังเคราะห์ที่ได้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสารที่สกัดได้จากธรรมชาติ สารปรุงแต่งสีสังเคราะห์นั้นจะต้องได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ส่วนสารปรุงแต่งสีที่ได้จากธรรมชาติจะต้องได้ผ่านการตรวจสอบด้วยเช่นกันว่าสกัดมาจากสารอินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาติ

ขณะนี้ทางเรามีขายสีแบบผง ซึ่งประหยัดกว่าสีน้ำผสมเสร็จ มีหลายสีให้เลือกใช้ตามความต้องการ ได้แก่ สีเหลือง, สีเขียว, สีช็อกโกแลต, สีฟ้า, สีแดงเข้ม, สีแดงอ่อน, สีน้ำตาล เป็นต้น
product code : chemical_000009
Retail (25.00 kg.)N/A
น้ำตาลเด็กซ์โตรส (dextrose)
น้ำตาลเด็กซ์โตรส (dextrose)
น้ำตาลเด็กซ์โตรส (dextrose) เป็นสารให้ความหวานที่ได้จากข้าวโพดโดยกระบวนการผ่านความร้อนและกรด หรือโดยการใช้เอนไซม์ ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการไฮโดรไลซีส (hydrolysis) คือ ปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้แป้งข้าวโพดโมเลกุลใหญ่ แตกตัวเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลง ในท้องตลาดจะมีน้ำตาลเด็กซ์โตรสอยู่ 2 ชนิด คือ เด็กซ์โตรสไฮเดรต ซึ่งจะประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำ 9% น้ำตาลเด็กซ์โตรสชนิดนี้จะถูกนำไปใช้มากที่สุด ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แอนไฮดรัสเด็กซ์โตรส ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำเพียง 0.5% น้ำตาลเด็กซ์โตรสจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของขนมปัง หรือขนมอบ นอกจากนี้ยังถูกใช้ในไอศกรีม, ขนมอบกรอบ หรือในลูกกวาด น้ำตาลเด็กซ์โตรส ยังสามารถเรียกว่า น้ำตาลกลูโคส หรือน้ำตาลข้าวโพด
product code : chemical_000010
Retail (25.00 kg.)N/A